วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555














หน่วยที่ ๔ซอฟต์แวร์ Softwareซอฟต์แวร์  คือ การลำดับขั้นตอนการทำงานของคำสั่งที่จะทหน้าที่สั่งคอมพิวเตอร์ว่าให้ทำอะไร เป็นชุดของโปรแกรมหลายๆโปรแกรมนำมารวมกันให้สามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่ต้องการ เรามองไม่เห็นหรือสัมผัสไม่ได้แต่เราสามารถสร้าง จัดเก็บ และนำมาใช้งานหรือเผยแหร่ได้ด้วยสื่อหลายชนิด เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี แฟลชไดร์ฟ ฮาร์ดดิส เป็นต้น

หน้าที่ของซอฟต์แวร์
    ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอรืและเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวรื เราก้ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำฟหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
ประเภทของซอฟต์แวร์
   
ซอฟต์แวร์แบ่งเป็น ๓ ประเภทใหญ่ๆ คือ
-ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
-ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
-ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ
๑.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
    ซอฟต์แวร์ระบบเป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
    System Software หรือโปรแกรมระบบที่รุ้จักกันดีก็คือ DOS,Windows,Unix,Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic,FortranmPascal,Cobol,C เป็นต้น
    นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบ เช่น Norton's Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ

๑.ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับรู้การกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง
๒.ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก
๓.ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารในระบบ (directory) ในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
  ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และ ตัวแปลภาษา
ซอฟต์แวร์ระบบ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
-ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
-ตัวแปลภาษา

๑.ระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS)
๑.)ดอส (Disk Operating System : Dos)
๒.)วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบุติการที่พัฒนามาจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานพร้อมกันในหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพการใช้งานเน้นรูปแบบกราฟฟิก ผู้ใช้งสนสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏอยู่บนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบบฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
๓.)ยูนิกซ์ (Unix)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการยูนิกซเป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด(Open system)ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณืที่มียี่ห้อเดียวกันยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานที่มีลักษณะผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลาย
ภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซจึงถูกนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพื่อใช้งานหลายเครื่องพร้อมกัน
๔.)ลีนุกซ์ (linux)เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบที่มีการแจกจ่าย โปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เน่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดนเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว
(GNU)
และสิ่งสำคัญที่สุดคือระบบลุนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี(Free ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น (PC Intel) ดิจิตอล (Digital Alpha Computer) และซันวปาร์ค (Sun Sparc) ถึงแม้ว่าขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดว์สบนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น
๕.) แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสนำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วยมากนำไปใช้ด้านกรฟฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้สำนักพิมพ์ต่างๆ
นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมายังมีระบบปฏิบัติการอีกมากมาย เช่น ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ใช้งานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน
ชนิดของระบบปฏิบัติการ สามารถจะแนกตามการใช้งานสามรถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิด ด้วยกัน คือ
๑.ประเภทการใช้งานเดียว (Singgle-tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้จะกำหนดให้คอมพิวเตอร์ใช้งานครั้งละหนึ่งงานเท่านั้น ใช้ในเครื่องขนาดเล็กอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการดอส เป็นต้น
๒.ประเภทการใช้งานหลายงาน (Multi tasking) ระบบปฏิบัติการประเภทนี้สามารถควบคุมการทำงานพร้อมกันในหลายงานในขณะเดียวกัน ผู้ใช้สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ขึ้นไป และ UNIX เป้นต้น
๓.ประเภทใช้งานหลายคน (Multti-user)
ในหน่วยงานบางแห่งอาจใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ทำหน้าที่ประมวลผล ทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์พร้อมกันหลายคน แต่ละคนจะมีสถานีงานของตนเองเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ จึงต้องใช้ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำงานเสร็จในเวลา เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows NT และ UNIX เป็นต้น


๒.ตัวแปลภาษาการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงเพื่อแปลภาษษระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
ภาษาระดับสูงมีหลายภาษาซึ้งสร้างขึ้นให้ผู้เขียนโปรแกรมเชียนชุดคำสั่งได้ง่ายเข้าใจได้ และเพื่อให้สามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้
ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา ซึ้งภาษาระดับสูงได้แก่ ภาษาBasic,Fortran,Pascal,Cobol,C และภาษาโลโก เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใชช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมาก ได้แก่ Fortran,Cobol และภาษาอาร์พีจี